หลักการและเหตุผล

ในปีงบประมาณ 2545-2546 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ได้ดำเนินโครงการนำร่องเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนอย่างเร่งด่วนคือ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยได้จัดตั้งเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลซึ่งเป็นแหล่งรวมขององค์ความรู้และเทคโนโลยีไปพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับองค์กร/ชุมชน อย่างไม่เป็นทางการ รวม 9 เครือข่าย เพื่อดำเนินโครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ซึ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดกับชุมชนและท้องถิ่นตามความต้องการของชุมชนอย่างชัดเจน

โครงการดังกล่าวประกอบด้วยโครงการย่อย จำนวน 5 โครงการ ดังนี้

  1. โครงการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน
  2. โครงการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการออกแบบระบบฐานข้อมูล และการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของการบริหารของภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน
  3. โครงการเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
  4. โครงการอุดหนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ระบบ ต้นแบบและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้าง
    โอกาสทางเศรษฐกิจชุมชนเพื่อลดการนำเข้าและสนับสนุนการส่งออก
  5. โครงการฝึกอบรมหรือฟื้นฟูความรู้ ทักษะของบัณฑิต และการทำงานกับชุมชน

จากการประชุมของคณะทำงานโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ณ ห้องประชุม ศูนย์สารสนเทศ ชั้น 3 ทบวงมหาวิทยาลัยได้มีมติเห็นชอบให้ผสมผสานการดำเนินการในโครงการที่ 1, 3 และ 5 เข้าด้วยกัน และแบ่งความรับผิดชอบ ในการดำเนินการออกตามภูมิภาค 9 ภูมิภาค โดยในแต่ละภูมิภาคมอบหมายให้มหาวิทยาลัยหลักรับผิดชอบดำเนินการ โดยร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ  ในพื้นที่  มหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับเป็นแกนกลางในการประสานงานระหว่างสถาบันการศึกษา และชุมชนในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง (ฝั่งตะวันตก) ในปีงบประมาณ 2547 สกอ. ได้เห็นความสำคัญของเครือข่ายจึงได้สนับสนุนให้เครือข่ายเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนโดยได้จัดตั้งเครือข่ายอย่างเป็นทางการและให้มีบทบาทในการบริหารจัดการงานวิจัย  กำหนดกรอบงานวิจัย ของตนเองได้ จึงได้เกิดเครือข่ายพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง(เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคกลางตอนล่าง) โดยมีภารกิจ ดังนี้

ภารกิจหลัก

ภารกิจหลักของเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคกลางตอนล่าง มีดังนี้

  1. การติดตามระบบข้อมูลเครือข่าย
  2. การพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง
  3. การประชาสัมพันธ์ข่าวสารเครือข่าย เช่น เว็บไซด์ ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ เป็นต้น
  4. การพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่
  5. อื่นๆ ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการเครือข่าย

ภารกิจย่อย

  1. ติดต่อประสานงานความร่วมมือกับสมาชิก องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก
  2. ประสานงานการวิจัย การจัดสรรทุน การติดตาม และการเผยแพร่ผลงานวิจัย โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก โดยการประสานงานของเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคกลางตอนล่าง
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และการทำวิจัยแบบบูรณาการ
  4. จัดทำเอกสารเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ผลงานวิจัย ความเคลื่อนไหวต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารทางเว็บไซด์ของเครือข่ายฯ
    http://www.thaiwest.su.ac.th
  5. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย และการเสริมสร้างความ เข้มแข็งของชุมชน