จังหวัดสมุทรสงคราม

เว็บไชต์จังหวัด : http://www.samutsongkhram.go.th

สภาพทั่วไป

  1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
    • จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 65 กม. มี เนื้อที่ประมาณ 416.707 ตร.กม. หรือประมาณ 260,440 ไร่
    • ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสาคร
      ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทย และจังหวัดเพชรบุรี
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  2. แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต

    samutsongkram

  3. ลักษณะทางการปกครอง
    จังหวัดสมุทรสงครามแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล และ 284 หมู่บ้าน หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แยกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 5 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 33 แห่ง
  4. ประชากร
    จังหวัดสมุทรสงคราม มีประชากรรวมทั้งสิ้น 204,235 คน รายได้ประชากร 42,817 บาท/ปี/คน
  5. คำขวัญของจังหวัด
    “ เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.๒
    แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ”
  6. สินค้า OTOP
    อาหารทะเลแปรรูป (ปลาหยอง)
  7. วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    “เป็นเมืองแห่งอาหารทะเลและผลไม้ปลอดสารพิษ ศูนย์กลางการพักผ่อนและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางลำคลองระดับชาติ ดินแดนแห่งประชาชนรักถิ่นกำเนิด”
  8. เป้าประสงค์ของจังหวัด
    1. รายได้จากภาคประมงและเกษตรเพิ่มขึ้น 1.5%
    2. อาหารทะเลและผลไม้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 จากจำนวนตัวอย่างที่ตรวจสอบ
    3. จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นปีละ 3%
    4. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นปีละ 1.5%
    5. อัตราการว่างงานของประชากรวันแรงงานไม่เกิน 1%
    6. ชาวสมุทรสงครามพึงพอใจต่อการซื้อของกินของใช้ที่ผลิตในจังหวัดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
    7. อัตราการเกิดคดีอาชญากรรมลดลงปีละ 10%
    8. ครัวเรือนยากจนร้อยละ 0 ในปี 2547

    ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด

    • การพัฒนาและส่งเสริมจังหวัดให้เป็นเมืองอาหารทะเลและผลไม้ปลอดสารพิษ
    • การพัฒนาให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางการพักผ่อนและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางลำคลอง
    • การปลุกจิตสำนึกให้ชาวจังหวัดสมุทรสงครามรักถิ่นกำเนิด

ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ของจังหวัด

  1. การควบคุมและยกระดับภาคการประมงให้ได้มาตรฐานและปลอดสารพิษ
  2. การควบคุมและยกระดับการผลิตผัก/ผลไม้ปลอดสารพิษ
  3. พัฒนาและยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางประมงและเกษตร
  4. ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์
  5. พัฒนาการท่องเที่ยวทางลำคลอง
  6. ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์
  7. การเพิ่มขีดความสามารถของภาคบริการเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและเพิ่มรายได้
  8. การฟื้นฟูและอนุรักษ์สมดุลของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  9. การกำหนดผังเมืองโดยการกำหนดและควบคุมประเภทและพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรม
  10. การปลุกจิตสำนึกให้รักและสนับสนุนความเจริญของถิ่นกำเนิด
  11. ส่งเสริมการมีงานทำและเพิ่มรายได้และการแก้ไขปัญหาความยากจน
  12. การส่งเสริมการพึ่งพากันระหว่างภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
  13. การส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่และความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน