จังหวัดสุพรรณบุรี

เว็บไชต์จังหวัด : http://www.suphanburi.go.th

สภาพทั่วไป

  1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
    • จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 110 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 5,258.008 ตร.กม. หรือ ประมาณ 3,348,755 ไร่
    • ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท
      ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดนครปฐมทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดอุทัยธานี
  2. แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต

    suphanburi

  3. ลักษณะทางการปกครอง
    จังหวัดสุพรรณบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล และ 997 หมู่บ้าน หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แยกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 21 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 106 แห่ง
  4. ประชากร

    จังหวัดสุพรรณบุรี มีประชากรรวมทั้งสิ้น 863,347 คน รายได้ประชากร 49,542 บาท/ปี/คน

  5. คำขวัญของจังหวัด
    “ สุพรรณบุรี เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง ”
  6. สินค้า OTOP
    ศิลปจากไม้ไผ่ อำเภอบางปลาม้า
  7. วิสัยทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรี
    “ สุพรรณบุรีเป็นจังหวัดชั้นนำในด้านแหล่งผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐานสู่สากล เป็นศูนย์กลางการศึกษา การกีฬา และการท่องเที่ยวโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน ”
  8. เป้าประสงค์ของจังหวัด
    1. แก้ไขปัญหาความยากจนให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น โดยเป็นแหล่งผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว
    2. พัฒนาการศึกษาและการกีฬาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

    ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด

    • การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปรวมทั้งผลิตภัณฑ์
    • การสร้างและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวสู่ระบบการท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมต่อกลุ่มจังหวัดและสู่ความเป็นสากล
    • การยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    • การขยายฐานโอกาสและคุณภาพในการศึกษาทุกระดับให้ตรงกับความต้องการ
    • การส่งเสริมให้กีฬาอยู่ในหัวใจชาวสุพรรณบุรี และมีความสามารถด้านการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
    • การนำการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารและบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ของจังหวัด

  1. พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อการแข่งขันทางการค้าและส่งออก
  2. พัฒนาการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน
  3. สนับสนุนและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร
  4. สนับสนุน ฟื้นฟู พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรและเทคโนโลยีการผลิต
  5. ส่งเสริมกิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
  6. พัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
  7. ส่งเสริมสินค้าท้องถิ่น (OTOP)
  8. ส่งเสริมและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  9. สร้างหลักประกันสุขภาพ
  10. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  11. สร้างสังคมให้ปราศจากยาเสพติด
  12. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทุกระดับ
  13. ยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาชาติ
  14. พัฒนากีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬาเพื่อมวลชนมุ่งสู่ความเป็นเลิศ สร้างอาชีพทางการกีฬา
  15. บริการประชาชนด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส
  16. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างภาคราชการและเอกชน