วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2567
ผู้แทนคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบริหารการวิจัยสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ลงพื้นที่กลุ่มนาแปลงใหญ่ ต.โรงเข้ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของ
ชุดโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการปุ๋ยแบบแม่นยำร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งเพื่อเพิ่มสมรรถนะการผลิตและลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของระบบการผลิตข้าว”
โดย รองศาสตราจารย์อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ สังกัด คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะนักวิจัยเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง โดยได้รับทุนทุนอุดหนุนการวิจัย
โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
ในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำเพื่อการผลิตข้าว โดยนวัตกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย Application ” All Rice 1 ” ที่สามารถวัดคุณภาพของชุดดินในพื้นที่( 6 อำเภอ ของจังหวัดเพชรบุรี) และวิคราะห์ว่าจะใช้ปุ๋ยแต่ละสูตร จำนวนเท่าใด คิดเป็นราคาเท่าใดในการปลูกข้าว ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็น และส่งผลต่อการลดต้นทุนการผลิต นอกจากนั้น ยังมีนวัตกรรมการจัดการน้ำ หรือการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง ช่วยให้การจัดการใช้น้ำในแต่ละช่วงของการปลูกข้าว ได้อย่างแม่นยำ (ใช้น้ำแบบคุ้มค่า) ผลจากโครงการนี้ (เกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกนาแปลงใหญ่ จำนวน 10 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มนำร่อง และถือเป็นนักวิจัยในพื้นที่ เนื่องจากโครงการนี้ ได้ใหเกษตรกรมาร่วมดำเนินโครงการ ตั้งแต่ขั้นการสำรวจและเก็บข้อมูลชุดดินและอื่นๆ ทดลองและประเมินร่วมกับทีมวิจัยของม.ศิลปากร รวมทั้งบุคลากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านลาด) เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในส่วนของปุ๋ย ได้ถึง 500 บาท/ไร่ ข้าวแตกกอดีกว่าเดิม ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ดีกว่าที่ผ่านมา นอกจากนั้น ยังสามารถจัดการการให้น้ำในแต่ละช่วง ได้อย่างคุ้มค่า ผลลัพธ์จากความสำเร็จของกลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ ทำให้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรตำบลอื่นๆ ของอำเภอบ้านลาดและอำเภออื่นๆ รวมกว่า 8 ตำบลนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ขยายผล นอกจากนี้ นวัตกรรมนี้ ได้รับความสนใจจากคณะที่มาศึกษาดูงานจากหลายจังหวัด ประมาณ 10,000 คน / (ปี 2565 และปี 2566) ยังมีรายละเอียดของผลลัพธ์จากโครงการนี้อีกมาก และที่สำคัญ คณะนักวิจัย ยังสร้างผลลัพธ์ทางวิชาการ ทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่ การบริการวิชาการ การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งได้ทุนต่อยอดจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (สวก. )
จึงเป็นโครงการที่สร้างผลลัพธ์ได้ดีมาก ของเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง